อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Arthur B. McDonald)
อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์
(Arthur McDonald)
แมคโดนัลด์ในพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ พ.ศ. 2558
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2486
ซิดนีย์ รัฐโนวาสโกเชีย
ประเทศแคนาดา
สัญชาติ แคนาดา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยดัลฮาวซี
สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย
องค์การมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
มหาวิทยาลัยควีนส์

อาร์เธอร์ บรูซ แมคโดนัลด์ (อังกฤษ: Arthur Bruce McDonald) เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ณ เมืองซิดนีย์ รัฐโนวาสโกเชีย เป็นนักฟิสิกส์ชาวแคนาดา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์สังเกตการณ์นิวตริโนซัดบิวรีในรัฐออนแทรีโอ แมคโดนัลด์เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี พ.ศ. 2558 ร่วมกับทากาอากิ คาจิตะ นักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ในฐานะ "การค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน ซึ่งชี้ให้เห็นว่านิวตริโนนั้นมีมวล"[1]

ประวัติ[แก้]

อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากคณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยดัลฮาวซี ในรัฐโนวาสโกเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2507 และ 2508 ตามลำดับ และศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียเมื่อ พ.ศ. 2512[2]

แมคโดนัลด์เริ่มต้นทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่วิจัยแห่งศูนย์ปฏิบัติการนิวเคลียร์ชอล์กริเวอร์ (CRNL) ในรัฐออนแทรีโอ ระหว่างปี พ.ศ. 2513–2525 ต่อมารับตำแหน่งอาจารย์สอนฟิสิกส์ให้แก่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันระหว่างปี พ.ศ. 2525–2532 และได้ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยควีนส์จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ แมคโดนัลด์ยังดำรงตำแหน่ง University Research Chair (URC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 และตำแหน่ง Gordon and Patricia Gray Chair ในสาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นตำแหน่งในมหาวิทยาลัยควีนส์ และยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการแห่งสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีเพริเมเทอร์ในรัฐออนแทรีโอ[2][3]

การวิจัยและผลงาน[แก้]

แมคโดนัลด์และทีมวิจัยแห่งศูนย์สังเกตการณ์นิวตริโนซัดบิวรีได้ค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของอนุภาคนิวตริโนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 โดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับนิวตริโนที่ตั้งอยู่ในเหมืองเก่าลึกลงไปใต้ดินกว่า 2,100 เมตรใกล้เมืองซัดบิวรี รัฐออนแทรีโอ โดยทีมวิจัยพิสูจน์ได้ว่านิวตริโนจากดวงอาทิตย์นั้นสามารถแกว่งและเปลี่ยนรูปไปเป็น อิเล็กตรอนนิวตริโน () มิวออนนิวตริโน () หรือเทานิวตริโน () ได้จริง ผลงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ใน Physical Review Letters ซึ่งเป็นวารสารวิชาการเชิงวิทยาศาสตร์โดยสมาคมฟิสิกส์แห่งอเมริกา และได้รับการพิจารณาว่าเป็นผลงานที่สำคัญมากชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนี้ได้พิสูจน์และแก้ปัญหาของนิวตริโนที่มาจากดวงอาทิตย์โดยใช้คำอธิบายจากปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน

เกียรติยศ[แก้]

  • (พ.ศ. 2549) เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งแคนาดา[4]
  • (พ.ศ. 2550) เหรียญเบนจามินแฟรงคลิน สาขาฟิสิกส์ มอบโดยสถาบันแฟรงคลินในฐานะ "การค้นพบว่าอนุภาคมูลฐานสามชนิดที่มีชื่อว่านิวตริโนสามารถเปลี่ยนชนิดไปมาได้เมื่อเดินทางเป็นระยะทางที่เหมาะสม และนิวตริโนเหล่านั้นมีมวล"[5]
  • (พ.ศ. 2554) เหรียญเฮนรีมาร์แชลทอรี มอบโดยราชสมาคมแห่งแคนาดาในฐานะ "นำเกียรติยศและสิ่งล้ำค่าทางภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศ"[6]
  • (พ.ศ. 2558) รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ร่วมกับทากาอากิ คาจิตะ ในฐานะ "การค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน ซึ่งชี้ให้เห็นว่านิวตริโนนั้นมีมวล"[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The Nobel Prize in Physics 2015" (ภาษาอังกฤษ). Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 ""Arthur B. McDonald"" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ""Board of directors"" (ภาษาอังกฤษ). Perimeter Institute for Theoretical Physics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-07. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Order of Canada, The Governor General of Canada, สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558
  5. "Arthur McDonald", The Franklin Institute, สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558
  6. "Henry Marshall Tory Medal" เก็บถาวร 2016-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Royal Society of Canada, สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]